ชาอู่หลงลดความอ้วน ได้จริงหรือไม่?

แฟชั่นการดื่มชาที่ผลิตออกมาขายใน ท้องตลาดที่มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ชาเขียว ชาอู่หลง ชาดอกไม้ หรือชาผสมน้ำผึ้ง ที่ออกมาแข่งขันในเรื่องของสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภค เรามาดูกันว่าชาอู่หลงลดความอ้วน ได้อย่างไร?

ชาอู่หลง เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมาเป็นระยะเวลานาน มีจุดเด่นตรงมีกลิ่นหอมละมุน ชุ่มคอ รสชาติเข้มกว่าชาเขียวแต่ฝาดน้อยกว่าชาดดำ ชาอู่หลงในประเทศไทยนั้นนิยมผลิตจากกลุ่มพันธุ์ชาจีน นำมาผ่านกระบวนการกึ่งหมัก (Semi – fermentation) ทำให้มีรสชาติ สี กลิ่น แตกต่างจากชาชนิดอื่นๆ และยังสามารถรักษาองค์ประกอบทางเคมีได้ใกล้เคียงกับชาเขียว จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีรายงานการศึกษาถึงผลดีต่อร่างกายหลายด้าน เช่น พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของหลายโรค ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการสะสมและควบคุมปริมาณไขมันในเลือด ต้านอาการอักเสบและบวม เป็นต้น และจากการที่กรรมวิธีการผลิตชาอู่หลงที่ผ่านกระบวนการกึ่งหมัก ทำให้เกิดสารสำคัญที่เรียกว่า Oolong Tea polymerized-polyphenols หรือ OTPP ซึ่งพบได้มากในชาอู่หลง นอกเหนือจากคาเฟอีน และสารกลุ่มคาเทชินที่พบเช่นเดียวกับในชาเขียว และชาดำ สำหรับ OTPP เป็นกลุ่มสารโพลิฟีนอลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสารกลุ่มคาทิชิน อันเนื่องมาจากกระบวนการกึ่งหมักของใบชา โดยมีเอนไซม์โพลิฟีนอลออกซิเดสและความร้อนจากกระบวนการผลิตชาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สารกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกาย รวมทั้งส่งผลต่อ สี กลิ่นและรสชาติเฉพาะตัวของชาอู่หลง โดยปริมาณสารจะแตกต่างกัน ตามระดับของกระบวนการหมัก และมักพบอยู่ในช่วง 8 – 85% ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ สารกลุ่มไดเมอร์ริกคาเทชิน (Dimeric catechins) เช่น Oolonghomobisflavan A และ B สารกลุ่มทีเอฟลาวิน (Theaflavins) และ ทีเอรูบิจิน (Thearubigins) ดังแสดงตามรูป

Oolong Tea polymerized-polyphenols,OTPP

รูปแสดง โครงสร้างของสารโพลิฟีนอลที่เกิดการพอลิเมอร์ไรเซชั่น (Oolong Tea polymerized-polyphenols,OTPP) ที่พบมากในชาอู่หลง

ในปัจจุบัน มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ OTPP ในด้านการควบคุมระดับไขมันในร่างกาย พบว่า OTPP สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้มีรายงานว่าเมื่อดื่มชาอู่หลงที่อุดมด้วยสาร OTPP หลังรับประทานอาหารช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มการขับไขมันออกทางอุจจาระ และยังมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน โดยมีรายงานพบว่า สามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่า

การศึกษาวิจัยทางคลินิก แสดงให้เห็นผลของการดื่มชาอู่หลงลดความอ้วน ในผู้ที่มีภาวน้ำหนักเกินและโรคอ้วน การศึกษาของ Rong-rong H และคณะ พบว่าการบริโภคชาอู่หลงวันละ 8 กรัม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 1 กิโลกรัม ไขมันสะสมในร่างกายลดลง 12% และมีความสัมพันธ์กับเส้นรอบวงเอวที่ลดลง ส่วนการศึกษาของ Junichi N และคณะ พบว่าการดื่มชาอู่หลงที่มี OTPP ปริมาณสูงเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยให้ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ลดลง โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เช่นเดียวกันกับการศึกษาของ Maekawa T และคณะ พบว่าการดื่มชาอู่หลงทำให้น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย มวลไขมันรวมในร่างกาย ไขมันในช่องท้อง เส้นรอบวงเอว เส้นรอบวงสะโพกและความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลง และมีความปลอดภัยในการบริโภคสอดคล้องกับการศึกษาของ Nakamura J และคณะ พบว่าการดื่มชาอู่หลงสามารถลดไขมันสะสมในช่องท้อง และขนาดรอบวงเอว ดังนั้นการดื่มชาอู่หลง จึงน่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและบำบัดภาวะอ้วนลงพุง

ชาอู่หลงมีประโยชน์มากมายต่อร่างกายในหลายด้านนอกเหนือจากชาอู่หลงลดความอ้วน เช่น แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น ต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก ป้องกันฟันผุ ป้องกันโรคหัวใจ ลดอาการหอบหืด ขับสารพิษในร่างกาย และอีกมากมายนานัปการ แต่ประโยชน์ที่เรียกว่าเด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นการที่ชาอู่หลงมีส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยในการควบคุมความอ้วน ลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด และลดระดับคลอเรสเตอรอลได้เป็นอย่างดี เพราะว่า “ชาอู่หลง” ที่ได้ยินชื่อจนคุ้นหูนี้ มีสารประกอบหลักอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า OTPP นั่นเอง

สารประกอบหลัก OTPP ในชาอู่หลง มีคุณสมบัติทำให้ชาอู่หลงลดความอ้วน ได้อย่างไร?

  1. ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส

    สารกลุ่ม OTPP ซึ่งเป็นสารประกอบหลักในชาอู่หลงนั้น มีรายงานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการยับยั้งการทำำงานของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน ซึ่งเป็นเอนไซม์สำำคัญที่ช่วยทำำให้เกิดการดูดซึมไขมันที่ลำำไส้เล็ก โดย OTPP สามารถยับยั้งการทำำงานของเอนไซม์ชนิดนี้ได้มากกว่า EGCG ที่เป็นสารออกฤทธิ์หลักในชาเขียว

  2. ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (อนุภาคไขมันชนิดหนึ่ง)

    จากการศึกษาพบว่า OTPP สามารถยับยั้งการดูดซึมไตรกลีเซอร์ไรด์ในระบบ

  3. ลดการดูดซึมไขมัน

    การตรวจวัดระดับไขมันทางอุจจาระเป็นหนึ่งในวิธีการสำำคัญที่ใช้ตรวจสอบการดูดซึมไขมันจากอาหารได้ โดยจากการศึกษาวิจัยของ Hsu และคณะ (2006) พบว่าชาอู่หลงที่อุดมด้วยสารโพลิฟีนอลสามารถเพิ่มการขับไขมันทางอุจจาระ เมื่อให้กลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี รับประทานอาหารทีมีไขมันสูงแล้วดืม่ ชาอู่หลง พบว่าอาสาสมัครกล่มดังกล่าวมีอัตราการขับไขมันทางอุจจาระเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

  4. เพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมากขึ้น

    จากรายงานการวิจัยการทดสอบ “ชาอู่หลง”กับ“ชาเขียว”ต่ออัตราการเผาผลาญพลังงานในอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น พบว่าชาอู่หลงที่มีปริมาณ OTPP มากกว่า สามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าชาเขียวถึง 2 เท่าทั้งที่ชาอู่หลงมีปริมาณคาเฟอีนเพียงครึ่งหนึ่งของชาเขียวเท่านั้น และยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่มีอันตรายต่อผู้บริโภคเนื่องจากการดื่มชาอู่หลงในระยะยาว

สรุปได้ว่าการดื่มชาอู่หลงนั้นมีคุณประโยชน์หลายต่อ ทั้งยับยั้งการทำำงานของเอนไซม์ไลเปส ลดระดับไตรกรีเซอร์ไรด์ ลดการดูดซึมไขมันและช่วยเพิ่มการขับไขมันทางอุจจาระทำำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดความอ้วนอันเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆมากมาย ปัจจุบันการดื่มชาอู่หลง จึงเป็นอีกทางเลือกของผู้รักสุขภาพและหนุ่มสาวยุคใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดการดูดซึมไขมันและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนไทยมีปัญหาภาวะอ้วนและโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข จากการสำำรวจสภาวะสุขภาพคนไทย พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินจนถึงระดับอ้วนมากกว่า 17 ล้านคน และในแต่ละปีคนไทยจะเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น 25%จากประชากรทั้งหมด สาเหตุหลักมาจากวิถีการดำำเนินชีวิตที่ไม่สมดุล มีการบริโภคมากเกินความต้องการของร่างกาย การออกกำำลังกายน้อย กรรมพันธุ์ ช่วงอายุ และผลจากยารักษาโรคบางชนิด เป็นต้น

วิธีการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลดีอย่างยั่งยืนควรดูแลที่ต้นเหตุด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำำวัน เช่น การควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง ควรดื่มชาอู่หลงเป็นประจำำ และออกกำำลังกายสม่ำเสมอนอนหลับให้เพียงพอ ดังนั้นถ้าใครอยากสวยปิ๊ง หุ่นเป๊ะ ดูสุขภาพดี และฟิตแอนด์เฟิร์มสไตล์หนุ่มสาวยุคใหม่อย่างยั่งยืนต้องไม่ลืมออกกำำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะควบคู่กันไปด้วย

เอกสารอ้างอิง

  • ผศ.ดร.วีณา นุกูลการ* ธันย์ชนก ปักษาสุข* เพ็ญนภา เจริญกิจวิวัฒน์. ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดและต้านภาวะอ้วนของชาอู่หลง ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม – กันยายน 2556
  • Hara Y., Moriguchi S., Kusumoto A., Nakai M., Toyoda-Ono Y., and Segawa T. (2004). Suppressive effects of oolong tea polyphenol-enriched oolong tea on post prandial serum triglyceride elevation. Japanese Pharmacology and Therapeutics (in Japanese), 32: 335-342.
  • Hsu T-F., Kusumoto A., Abe K., Hosoda K., Kiso Y., Wang M-F. and Yamamoto S. (2006). Polyphenol-enriched oolong tea increases fecal lipid excretion, Europeon Journal of Clinical Nutrition, 60: 1330-1336.
  • JunichiN, Takanori T, Keiichi A, et al. Jpn Pharmacol Ther 2007 ; 35 : 661-71.
  • Komatsu T., Nakamori M., Komatsu K., Hosoda K., Okamura M., Toyama K. et.al.(2003). Oolong tea increases energy metabolism in Japanese females. Journal of Investigative Medicine, 50: 170-175.
  • Maekawa M,TeramotoT, Nakamura J, et al. Effect of long-term Intake of “KURO-Oolong tea OTPP” on body fat mass and metabolic syndrome risk in over weight volunteers. Jpn Pharmacol Ther 2011; 39:889-900.
  • Nakai M, Fukui Y, Asami S, Toyoda-Ono Y, Iwashita T, Shibata H et.al. (2005b). Inhibitory effects of oolong tea polyphenols on pancreatic lipase in vitro. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 53:4593-4598.
  • Nakamura J, Abe K, Ohta H and Kiso Y. Lowering Effects of the OTPP (Oolong Tea Polymerized Polyphenols) Enriched Oolong Tea (FOSHU “KURO-Oolong Tea OTPP) on Visceral Fat in OverWeightVolunteers.JpnPharmacolTher2008;36(4).
  • Rong-rong H, Ling C, Bing-hui L, Yokichi M, Xin-sheng Y, Hiroshi K. Beneficial effects of oolong tea consumption on diet-induced overweight and obese subjects. Chin J Integr Med 2009; 15(1):34-41.

Credit: กาญจนา พลอยศรี, จดหมายข่าวชา, สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง